การประชุมเสวนา ครั้งที่ 3 ภาคกลาง ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เรื่อง "พัฒนาที่ดิน พัฒนาเกษตรกรไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน"




      วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2556 กรมพัฒนาที่ดิน ได้จัดการประชุมเสวนา ( ครั้งที่ 3 ภาคกลาง ) เรื่อง "พัฒนาที่ดิน พัฒนาเกษตรกรไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน " โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางแผนการใช้ที่ดิน แนวทางแลเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการฟื้นฟูและปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้พี่น้องหมอดินอาสา ผู้นำและเกษตรกรได้รับทราบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านพัฒนาที่ดิน พัฒนาเกษตรกรไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน มีหมอดินอาสา ที่ประสบความสำเร็จ ในอาชีพเกษตรกรรม ของภาคกลาง มาร่วมพูดคุยให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ร่วมเสวนาทุกท่าน       โดยมีการบันทึกเทปการเสวนาเพื่อนำออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 7 ช่อง 9 และสถานีฟาร์มแชนเนล บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)โดยได้รับเกียรติจาก นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิด มีนางเพ็ญศรี หมื่นสังข์ เลขานุการกรมพัฒนาที่ดิน เป็นผู้กล่าวรายงาน มีผู้อำนวนการสถานีพัฒนาที่ดิน กลุ่ม ฝ่าย หมอดินอาสา และแขกผู้มีเกียรติ ทั้ง 13 จังหวัดในภาคกลาง มาร่วมประชุม /เสวนา มากมาย
      มีนางสาวเกศพิศ โฮมแพน และนายคารม มั่นศิลป์ (ทิดแหลม ฟาร์มแชนเนล) เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ณ อาคารสัมมนา บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติฯ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
      ช่วงเช้ามีการเสวนาเรื่อง "หมอดินอาสา ต้นแบบพัฒนาที่ดิน ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน " มีผู้ร่วมเสวนา คือ
         - นายกำพล ทองโสภา หมอดินอาสา อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 
         - นายสุธรรม จันทร์อ่อน หมอดินอาสา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
         - รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน คณะเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
      นายกำพล ทองโสภา หมอดินอาสา ประธานศูนย์เรียนรู้และบริการด้านการพัฒนาที่ดิน ต.ดอนเจดีย์ เจ้าของรางวัลชนะเลิศ (ระดับประเทศ ) ประเภทต้นทุนเฉลี่ย/กิโลกรัมต่ำสุด ( ทำนาลงทุนไร่ละ 2,700 บาท แต่ได้ข้าว 131 ถัง/ไร่ ) โครงการประกวดผลผลิตข้าวนาปี 2555/2556
      นายสุธรรม จันทร์อ่อน หมอดินอาสา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ประธานศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง หมอดินอาสาดีเด่นของกรมพัฒนาที่ดิน ประจำปี 2551 ปราชญ์ชาวบ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีการปรับใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมกับวิถีธรรมชาติ เพื่อการผลิตเกษตรอินทรีย์ ทั้งข้าวหอมมะลิอินทรีย์ พืชผักอินทรีย์ ที่มีการผสมผสานวิธีการทำการเกษตรและธรรมชาติอย่างเหมาะสมและกลมกลืน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เกษตรกรมี รศ. บำเพ็ญ เขียวหวาน จากคณะเกษตรศาสตร์และการสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เป็นผู้เปิดประเด็นถ่ยทอดองค์ความรู้แนวคิด เชิงทฤษฎีหลักการและแนวคิดที่ถูกต้อง เพื่อให้การขับเคลื่อนงานพัฒนาที่ดิน พัฒนาการเกษตร เพื่อเกษตรกรไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน
      ส่วนช่วงบ่าย มีการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง " ทางเลือก ทางรอด เกษตรกรไทย จะได้อะไรจากการพัฒนาที่ดิน สู่ประชาคมอาเซียน " มีผู้ร่วมเสวนา คือ
          - นางนงคราญ มณีวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านปรับปรุงดินเปรี้ยว
          - นายวันชัย วงษา ผู้อำนวยการพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี
          - นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ หมอดินอาสาประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
      นางนงคราญ มณีวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านปรับปรุงดินเปรี้ยว ที่ได้กล่าวในภาพรวมด้านบทบาท ภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน ปัญหาดินเปรี้ยวในภาคกลาง สถานการณ์การใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตรภาคกลาง
      นายวันชัย วงษา ผู้อำนวยการ สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี ได้กล่าวถึง ข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของการใช้ประโยชน์ที่ดินภาคการเกษตร ในจังหวัดสุพรรณบุรี ลักษณะทั้งทางกายภาพ ภูมิประเทศ และดินที่มีความหลากหลาย โดยสถานีพัฒนาที่ดิน ได้ให้การสนับสนุนปัจจัยด้านต่างๆ เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับหมอดินและเกษตรกรรวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ หมอดินอาสาประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เกษตรกรมืออาชีพ ที่ประสบความสำเร็จ ในการทำนา ทำไร่และสวน บนพื้นที่หลายร้อยไร่ ประธานศูนย์เรียนรู้และบริการด้านการพัฒนาที่ดิน อ.หนองหญ้าไซ เป็นผู้ก่อตั้งเครือข่าย (ธรรมชาติ ) การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวครบวงจร ที่ใช้เครือข่ายหมอดินอาสาและเกษตรหมู่บ้าน ในกระบวนการผลิตข้าวและเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ เป็นผู้ประสบความสำเร็จ ที่ต้องการสื่อให้รู้ว่า แม้พื้นที่เกษตรน้ำฝน ( นอกเขตชลประทาน ) ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี อย่างถูกต้องและเหมาะสม เกษตรกรก็ร่ำรวยได้
      ในงานมีนิทรรศการเกี่ยวกับ การปรับใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อน หมอดินอาสาและเกษตรกร ให้สามารถก้าวเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC ) ในปี 2558 ได้อย่างมั่นใจ ประมาณ 16.00 น.จึงสรุปและปิดการประชุมเสวนา

      กำหนดการฯ และประเด็น การประชุมเสวนาเรื่อง " พัฒนาที่ดิน พัฒนาเกษตรกรไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 3 จังหวัดสุพรรณบุรี "

      รายชื่อหัวหน้าส่วน เจ้าหน้าที่และผู้มีเกียรติ ที่เข้าร่วมประชุมเสวนาฯ เรื่อง " พัฒนาที่ดิน พัฒนาเกษตรกรไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 3 จังหวัดสุพรรณบุรี "